วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 16 วันที่ 20 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (invidualized Education Program)
  • การเขียนแผน IEP
- ต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- เด็กสามารถทำอะไรได้ หรือไม่สามารถทำอะไรได้
- ต้องรู้ว่าเด็กชอบอะไร นิสัยยังไง
  • IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี หรือระยะสั้น
  • ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
      - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
   จุดมุ่งหมายระยะยาว -- เขียนให้กว้างๆ แต่ชัดเจน
   จุดมุ่งหมายระยะสั้น -- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ โดยจะต้องระบุสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ จะสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
      - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
      - ต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล


จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกันเขียนแผน IEP



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่น

การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผน IEP จริงๆในอนาคต หากว่าต่อไปเราไปสอนแล้วเราเจอเด็กพิเศษ เราก็จะสามารถเขียนแผนได้อย่างถูกต้อง

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เบียร์สอน

      เพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

      อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอธิบายการเขียนแผนอย่างละเอียด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 16 วันที่ 20 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
  • เป้าหมาย
- ช่วยกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- เด็กรุ้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • ช่วงความสนใจ
- เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ ไม่เกิน 5 นาที
  • การเลียนแบบ
- เด็กพิเศษเรียนรู้ได้จากการเลียนแบบ
  • การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดเจนหรืไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนเกินไปหรือไม่
  • การรับรู้การเคลื่อนไหว
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ล้ิมรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

  • การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การตรวงน้ำ
- การต่อบล๊อก
- การใช้กรรไกร
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ใช้ของเดิม เช่น กรรไกร สี
- พูดในทางที่ดี




การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้ทำให้รู้ว่าทักษะการเรียน ช่วงความสนใจของเด็กพิเศษต่างจากเด็กปกติ เพราะฉะนั้นถ้าเราเจอเด็กพิเศษจริงๆ จะได้รู้ว่าควรทำอย่างไร

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่คุยกันบ้างเล็กน้อย

      อาจารย์ : อาจารย์เบียร์ มีการเตรียมพาวเพอร์พ้อยมาสอน มีดารยกตัวอย่างให้ฟัง ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 15 วันที่ 13 เมษายน 2558

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่น

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันสงกรานต์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 14 วันที่ 6 เมษายน 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันจักรี

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 13 วันที่ 30 มีนาคม 2558


วันนี้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 12 วันที่ 23 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนนทั้งหมด 5 ข้อ 10 คะแนน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 11 วันที่ 16 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การสร้างความอิสระ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือคนที่โตกว่า
  • หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
- ห้ามพูดว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
  • จะช่วยเมื่อไหร่
- บางวันที่เด็กไม่อยากทำอะไรเลย หงุดหงิด
- เด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่พึ่งได้
  • การย่อยงาน การเข้าห้องส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะ/อุจจาระ
- ใช้กระดาษเช็ด
- ทิ้งกระดาษชำระในถังขยะ
- กดชักโครก / ราดน้ำ
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้อส้วม




กิจกรรมวันนี้

อาจารย์เบียร์แจกกระดาษให้เหมือนเช่นเคย จากนั้นให้ใช้สีเทียนวาดวงกลมหลายๆสี แล้วตัดออกมา


เมื่อทุกคนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำไปติดบนต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้



ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
  1. การแสดงออกทางความคิด จินตนาการ
  2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  3. ด้านคณิตศาสตร์ - มิติสัมพันธ์
  4. สมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะในการช่วยเหลือตนเองมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำตอนท้ายคาบ








วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 10 วันที่ 9 มีนาคม 2558


ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2. ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น ติดอ่าง
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- อย่าไปสนใจการพูดซ้ำ
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่นๆ
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
  • ทักษะทางภาษา
- การรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- เป็นผู้ฟังที่ดีและตอบโต้อย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
- เช่น เด็กกำลังใส้ผ้ากันเปื้อน -- เราอย่าคาดเดาว่าเด็กอยากให้เราช่วย พอเราเข้าไปใกล้ๆก็อยู่นิ่งๆ ถ้าเด็กต้องการความช่วยเหลือ ให้เด็กเข้ามาขอจากเราเอง แต่ถ้าเด็กไม่ถามจริงๆ ก็ใช้วิธีบอกบท


Video โทรทัศน์ครู ตอนผลิบานบ้านมือครู โรงเรียนบ้านพลอยภูมิ -- ดูเพิ่มเติม

      จากวีดิโอ เป็นการใช้จังหวะดนตรีมาช่วย 
- กิจกรรมฝึกสมาธิ หยิบยกวาง 
- กิจกรรมรับส่งบอล ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในการทำกิจกรรม กล้ามเนื้อแข็งแรง และฝึกการกะระยะ
- กิจกรรมผึ้งหารัง เด็กจะต้องนึกถึงผึ้ง บินยังไง กินยังไง เป็นการถ่ายทอดความคิดของเด็ก ทำให้เด็กม่ความสุข และได้ทั้งเรื่องภาษา
      ทักษะเหล่านี้เป็นทั้งทักษะพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ ส่งผลกับความพร้อมในการเรียนรู้


กิจกรรมท้ายคาบ

       วันนี้อาจารย์เบียร์ให้จับคู่เหมือนเดิม แจกกระดาษให้คู่ละ 1 แผ่น และสีเทียนคนละ 1 แท่ง จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทั้งสองคนขีดลงบนกระดาษโดยห้ามยกสีเทียน และให้เส้นตัดกันมากที่สุด



จากนั้นก็ให้ช่วยกันระบายสีลงในช่องที่ตัดกัน


และผลงานของเพื่อนๆ


ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
  1. ฝึกสมาธิ
  2. ทักษะสังคม
  3. มิติสัมพันธ์
  4. การแสดงออกทางความคิด
  5. ภาษา


การนำไปประยุกต์ใช้


      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางภาษามากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำตอนท้ายคาบ





วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 9 วันที่ 2 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

      ก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้อาจารย์เบียร์ก็มีเกมรถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น โดยมีคำถามดังนี้


  1. ถ้าเราจะสวนสนุกแล้วจะไปขึ้นรถไฟเหาะแล้วมีคนต่อแถวรอเยอะมาก เราจะรอนานเท่าไหร่ ตอบ ครึ่งชั่วโมง (คำแปล : ถ้าเราจะมีอะไรกับแฟน ใช้เวลาเล้าโลมกี่นาที)
  2. ระหว่างที่อยู่บนรถไปเหาะเรารู้สึกอย่างไร ตอบ หวาดเสียว กลัว ตื่นเต้น อยากลง (คำแปล : ระหว่างที่เรา...กับแฟน เรารู้สึกอย่างไร)
  3. ขณะที่เราเล่นเครื่องเล่นที่ต้องลงน้ำเราจะพูดอะไรออกมา ตอบ กรี๊ดดด (คำแปล : ตอนที่ถึงจุดสุดยอด)
  4. ขณะที่เราขึ้นไปเล่นม้าหมุนแล้วม้าตัวที่เรานั่งไม่โยก เราจะพูดว่าอย่างไร ตอบ อ้าว ! พัง (คำแปล : ถ้าเกิดคู่ของเราทำผิดพลาด)
  5. ให้เราออกแบบรถไฟเหาะ

      เข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม (เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด)
  • สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่มีความสุข เช่น การจัดมุมในห้องเรียนให้สวยงาม น่าเล่น ก็ไม่ได้ทำให้เด็กพิเศษสนใจอยากเล่น (ต้องปรับที่ตัวเด็ก)
กิจกรรมการเล่น
  • ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเห็นเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส จะผลักหรือดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รุ้วิธีเล่น
  • ครูต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่าเป็นระบบ เพื่อจะได้เป็นตัวบอกเราว่าเด็กคนนั้นเป็นยังไงและเอามาใช้ในการเขียนแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (ไม่ควรเกิน 4 คน) โดยอัตราส่วนระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษ คือ 3:1
  • เด็กปกติจะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ห้ามหันหลังให้เด็กเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยุ่ในสายตาครู จะทำอะไรก็ได้
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่มทีละชิ้น เช่น เล่นทราย
         - เล่นมือเปล่า
         - เอาอุปกรณ์ไปเพิ่ม เช่น ถ้าเพิ่มช้อนพลาสติก ให้เพิ่มในจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กเสมอ เช่น ถ้าเด็กมี 4 คน อย่าให้เกิน 2 อัน เพราะจะไม่เกิดทักษะทางสังคม เด็กจะไม่ได้แบ่งกันเล่น
         - ถ้าเด็กเริ่มเบื่อก็ให้เพิ่มอีก 1 ชิ้น
         - ถ้าให้ของเล่นครั้งเดียวหลายๆอันเด็กจะเลือกเล่นแค่บางอย่าง แล้วก็เบื่อเร็ว และจะไม่เล่นกับเพื่อน จะไม่เกิดการแบ่งปัน

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน พาเด็กไปเข้ากลุ่มเล่นกับเด็กปกติ
ครูช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • ให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง
  • ครูต้องสร้างข้อตกลงก่อน

จากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำโดยให้ทุกคนจับคู่กัน จากนั้นให้เลือกสีเทียนคนละ 1 สี


จากนั้นก็ให้ตกลงกับคู่ของเรา คนนึงเป็นคนลากเส้น คนนึงเป็นคนจุด


ขณะที่ลากเส้นและจุด อาจารย์ก็เปิดเพลงไปด้วยซึ่งเป็นเพลงที่มีแต่เสียงดนตรี ไม่มีคนร้อง

เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็วาดรูปที่เราลาก




กิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกสมาธิ เกิดทักษะทางสังคม ได้ปรึกษากัน พูดคุยกัน 


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเนาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางสังคมมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ (ถึงแม้ว่าฝีมือจะเหมือนเด็กอนุบาลทำม้ากมาก แต่หนูก็ตั้งใจทำนะคะ)

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่ว่าเพื่อนมาเรียนไม่เยอะ เนื่องจากในตอนเช้าเรียนวิชาลูกเสือ ทำกิจกรรมเหนื่อยมาก ทำให้เพื่อนบางคนมาไม่ไหว 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีแบบทดสอบทางจิตวิทยามาให้ทำ มีกิจกรรมมาให้ทำ และท้ายคาบยังให้คำปรึกษาเรื่องงานบายเนียร์อีกด้วย






วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 8 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่อจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย


วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 7 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558


Happy Birthday my teacher

Wishes you all the best.









ขอมอบเพลงนี้ในอาจารย์เบียร์ค่ะ (ลองฟังดูนะคะ)


อยากขอบคุณเธอสักครั้งและอยากตอบแทนหัวใจที่เธอให้มา
จากคนตัวเล็กๆ ที่บังเอิญเธอถ่อมตัวมาสนใจ
อยากขอบคุณเธอสักครั้ง แม้อาจจะเป็นถ้อยคำที่ดูน้อยไป
ไม่เพียงพอกับใจที่ฉันต้องการบอกเธอ

หากฉันมีสิ่งดีๆสักนิดที่พอ ให้ความสุขกับเธอ
ก็จะยอมยกให้ทุกอย่าง
ตอบแทนความใจดีที่เธอเคยมีให้กัน มีให้ฉันเรื่อยมา




วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 6 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์เบียร์แจกถุงมือให้คนละ 1 อันและกระดาษอีกคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้ใส่ถุงมือในข้างที่ไม่ถนัด พร้อมทั้งพับครึ่งกระดาษ





เมื่อเสร็จแล้วให้วาดรูปมือข้างที่ใส่ถุงมืออยู่ ให้เหมือนที่สุด

จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้รู้ว่าสิ่งที่เราอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดเราเห็นทุกๆวัน เรายังจดจำรายละเอียดไม่ได้ ก็เหมือนกับเด็ก เราไม่สามารถจำรายละเอียดของเด็กได้อย่างถี่ถ้วนหากเราไม่บันทึก


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทัศนคติของครู
      อย่ามองว่าเขาเป็นเด็กพิเศษให้มองว่าเขาเป็นเด็กคนหนึ่งในห้องเรียน
การเข้าใจภาวะปกติ
      1 เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
      2 ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
      3 รู้จักแต่ละคน จำชื่อได้
      4 มองเด็กให้เป็นเด็ก
*พฤติกรรมที่ดีจะเกิดจากความเชื่อใจเป็นหลัก

ความพร้อมของเด็ก
      แรงจูงใจ (สำคัญมาก)

การสอนโดยบังเอิญ
      • เด็กยิ่งเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสสอนมากเท่านั้น
      • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
      • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก (ห้ามรำคาญ ใจเย็น)
      • ใช้เวลาในการสอนไม่นาน

อุปกรณ์
      • มีลักษณะง่ายๆ เช่น บล๊อก เลโก้
      • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
* เด็กปกติเล่นกับเด็กพิเศษ เด็กปกติจะช่วยเด็กพิเศษ
* ไม่ควรใช้ของเล่นที่แบ่งเพศ เช่น ปืน ดาบ ตุ๊กตา

ตารางประจำวัน
      • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำได้
      • กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอน และทำนายได้
      • เด็กจะรู้สึก ปลอดภัย มั่นใจ

ทัศนคติของครู
      ความยืดหยุ่น
      • แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (อย่ายึดคิดกับแผน)
      • ครูต้องตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
      เด็กทุกคนสอนได้ - เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
   เทคนิคการให้แรงเสริม
      • ความสนใจของผู้ใหญ่สำคัญมาก
      • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กทันที
      • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจ พฤติกรรมดีๆก็จะลดลงและหายไป
   วิธีการแสดงออกถึงการเสริมแรงจากผู้ใหญ่
      • ตอบสนองด้วยวาจา - พูด ชมเชย
      • สัมผัสทางกาย
      • ให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมกิจกรรม
   การแนะนำหรือบอกบท

  • การย่อยงาย หรือบอกให้เด็กทำทีละขั้นตอน
   ความต่อเนื่อง
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
   การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • งดเสริมแรงเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • เอาเด็กออกจากการเล่น

การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้ทำให้ได้รู้ว่าบางครั้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของสิ่งที่เราเห็นและคุ้นเคยอยู่ทุกวัน เราไม่ได้ใส่ใจมากนัก เมื่อถึงวันนึงเราก็ลืมบางสิ่งบางอย่างไป เหมือนกับพฤติกรรมเด็กถ้าเราไม่บันทึก เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจำได้หมด

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง - วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนบ้างนิดหน่อย

      เพื่อน - เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้างบางครั้ง

      อาจารย์ - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเพลงบำบัดเด็กพิเศษมาสอนร้องด้วย