วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 6 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์เบียร์แจกถุงมือให้คนละ 1 อันและกระดาษอีกคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้ใส่ถุงมือในข้างที่ไม่ถนัด พร้อมทั้งพับครึ่งกระดาษ





เมื่อเสร็จแล้วให้วาดรูปมือข้างที่ใส่ถุงมืออยู่ ให้เหมือนที่สุด

จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้รู้ว่าสิ่งที่เราอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดเราเห็นทุกๆวัน เรายังจดจำรายละเอียดไม่ได้ ก็เหมือนกับเด็ก เราไม่สามารถจำรายละเอียดของเด็กได้อย่างถี่ถ้วนหากเราไม่บันทึก


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทัศนคติของครู
      อย่ามองว่าเขาเป็นเด็กพิเศษให้มองว่าเขาเป็นเด็กคนหนึ่งในห้องเรียน
การเข้าใจภาวะปกติ
      1 เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
      2 ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
      3 รู้จักแต่ละคน จำชื่อได้
      4 มองเด็กให้เป็นเด็ก
*พฤติกรรมที่ดีจะเกิดจากความเชื่อใจเป็นหลัก

ความพร้อมของเด็ก
      แรงจูงใจ (สำคัญมาก)

การสอนโดยบังเอิญ
      • เด็กยิ่งเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสสอนมากเท่านั้น
      • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
      • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก (ห้ามรำคาญ ใจเย็น)
      • ใช้เวลาในการสอนไม่นาน

อุปกรณ์
      • มีลักษณะง่ายๆ เช่น บล๊อก เลโก้
      • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
* เด็กปกติเล่นกับเด็กพิเศษ เด็กปกติจะช่วยเด็กพิเศษ
* ไม่ควรใช้ของเล่นที่แบ่งเพศ เช่น ปืน ดาบ ตุ๊กตา

ตารางประจำวัน
      • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำได้
      • กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอน และทำนายได้
      • เด็กจะรู้สึก ปลอดภัย มั่นใจ

ทัศนคติของครู
      ความยืดหยุ่น
      • แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (อย่ายึดคิดกับแผน)
      • ครูต้องตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
      เด็กทุกคนสอนได้ - เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
   เทคนิคการให้แรงเสริม
      • ความสนใจของผู้ใหญ่สำคัญมาก
      • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กทันที
      • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจ พฤติกรรมดีๆก็จะลดลงและหายไป
   วิธีการแสดงออกถึงการเสริมแรงจากผู้ใหญ่
      • ตอบสนองด้วยวาจา - พูด ชมเชย
      • สัมผัสทางกาย
      • ให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมกิจกรรม
   การแนะนำหรือบอกบท

  • การย่อยงาย หรือบอกให้เด็กทำทีละขั้นตอน
   ความต่อเนื่อง
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
   การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • งดเสริมแรงเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • เอาเด็กออกจากการเล่น

การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้ทำให้ได้รู้ว่าบางครั้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของสิ่งที่เราเห็นและคุ้นเคยอยู่ทุกวัน เราไม่ได้ใส่ใจมากนัก เมื่อถึงวันนึงเราก็ลืมบางสิ่งบางอย่างไป เหมือนกับพฤติกรรมเด็กถ้าเราไม่บันทึก เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจำได้หมด

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง - วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนบ้างนิดหน่อย

      เพื่อน - เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้างบางครั้ง

      อาจารย์ - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเพลงบำบัดเด็กพิเศษมาสอนร้องด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น