วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 16 วันที่ 20 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (invidualized Education Program)
  • การเขียนแผน IEP
- ต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- เด็กสามารถทำอะไรได้ หรือไม่สามารถทำอะไรได้
- ต้องรู้ว่าเด็กชอบอะไร นิสัยยังไง
  • IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี หรือระยะสั้น
  • ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
      - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
   จุดมุ่งหมายระยะยาว -- เขียนให้กว้างๆ แต่ชัดเจน
   จุดมุ่งหมายระยะสั้น -- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ โดยจะต้องระบุสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ จะสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
      - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
      - ต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล


จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกันเขียนแผน IEP



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่น

การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผน IEP จริงๆในอนาคต หากว่าต่อไปเราไปสอนแล้วเราเจอเด็กพิเศษ เราก็จะสามารถเขียนแผนได้อย่างถูกต้อง

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เบียร์สอน

      เพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

      อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอธิบายการเขียนแผนอย่างละเอียด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 16 วันที่ 20 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
  • เป้าหมาย
- ช่วยกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- เด็กรุ้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • ช่วงความสนใจ
- เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ ไม่เกิน 5 นาที
  • การเลียนแบบ
- เด็กพิเศษเรียนรู้ได้จากการเลียนแบบ
  • การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดเจนหรืไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนเกินไปหรือไม่
  • การรับรู้การเคลื่อนไหว
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ล้ิมรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

  • การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การตรวงน้ำ
- การต่อบล๊อก
- การใช้กรรไกร
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ใช้ของเดิม เช่น กรรไกร สี
- พูดในทางที่ดี




การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้ทำให้รู้ว่าทักษะการเรียน ช่วงความสนใจของเด็กพิเศษต่างจากเด็กปกติ เพราะฉะนั้นถ้าเราเจอเด็กพิเศษจริงๆ จะได้รู้ว่าควรทำอย่างไร

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่คุยกันบ้างเล็กน้อย

      อาจารย์ : อาจารย์เบียร์ มีการเตรียมพาวเพอร์พ้อยมาสอน มีดารยกตัวอย่างให้ฟัง ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 15 วันที่ 13 เมษายน 2558

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่น

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันสงกรานต์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 14 วันที่ 6 เมษายน 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันจักรี

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 13 วันที่ 30 มีนาคม 2558


วันนี้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 12 วันที่ 23 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนนทั้งหมด 5 ข้อ 10 คะแนน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 11 วันที่ 16 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การสร้างความอิสระ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือคนที่โตกว่า
  • หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
- ห้ามพูดว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
  • จะช่วยเมื่อไหร่
- บางวันที่เด็กไม่อยากทำอะไรเลย หงุดหงิด
- เด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่พึ่งได้
  • การย่อยงาน การเข้าห้องส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะ/อุจจาระ
- ใช้กระดาษเช็ด
- ทิ้งกระดาษชำระในถังขยะ
- กดชักโครก / ราดน้ำ
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้อส้วม




กิจกรรมวันนี้

อาจารย์เบียร์แจกกระดาษให้เหมือนเช่นเคย จากนั้นให้ใช้สีเทียนวาดวงกลมหลายๆสี แล้วตัดออกมา


เมื่อทุกคนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำไปติดบนต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้



ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
  1. การแสดงออกทางความคิด จินตนาการ
  2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  3. ด้านคณิตศาสตร์ - มิติสัมพันธ์
  4. สมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะในการช่วยเหลือตนเองมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำตอนท้ายคาบ