วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 12 วันที่ 23 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนนทั้งหมด 5 ข้อ 10 คะแนน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 11 วันที่ 16 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การสร้างความอิสระ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือคนที่โตกว่า
  • หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
- ห้ามพูดว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
  • จะช่วยเมื่อไหร่
- บางวันที่เด็กไม่อยากทำอะไรเลย หงุดหงิด
- เด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่พึ่งได้
  • การย่อยงาน การเข้าห้องส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะ/อุจจาระ
- ใช้กระดาษเช็ด
- ทิ้งกระดาษชำระในถังขยะ
- กดชักโครก / ราดน้ำ
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้อส้วม




กิจกรรมวันนี้

อาจารย์เบียร์แจกกระดาษให้เหมือนเช่นเคย จากนั้นให้ใช้สีเทียนวาดวงกลมหลายๆสี แล้วตัดออกมา


เมื่อทุกคนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำไปติดบนต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้



ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
  1. การแสดงออกทางความคิด จินตนาการ
  2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  3. ด้านคณิตศาสตร์ - มิติสัมพันธ์
  4. สมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะในการช่วยเหลือตนเองมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำตอนท้ายคาบ








วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 10 วันที่ 9 มีนาคม 2558


ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2. ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น ติดอ่าง
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- อย่าไปสนใจการพูดซ้ำ
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่นๆ
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
  • ทักษะทางภาษา
- การรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- เป็นผู้ฟังที่ดีและตอบโต้อย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
- เช่น เด็กกำลังใส้ผ้ากันเปื้อน -- เราอย่าคาดเดาว่าเด็กอยากให้เราช่วย พอเราเข้าไปใกล้ๆก็อยู่นิ่งๆ ถ้าเด็กต้องการความช่วยเหลือ ให้เด็กเข้ามาขอจากเราเอง แต่ถ้าเด็กไม่ถามจริงๆ ก็ใช้วิธีบอกบท


Video โทรทัศน์ครู ตอนผลิบานบ้านมือครู โรงเรียนบ้านพลอยภูมิ -- ดูเพิ่มเติม

      จากวีดิโอ เป็นการใช้จังหวะดนตรีมาช่วย 
- กิจกรรมฝึกสมาธิ หยิบยกวาง 
- กิจกรรมรับส่งบอล ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในการทำกิจกรรม กล้ามเนื้อแข็งแรง และฝึกการกะระยะ
- กิจกรรมผึ้งหารัง เด็กจะต้องนึกถึงผึ้ง บินยังไง กินยังไง เป็นการถ่ายทอดความคิดของเด็ก ทำให้เด็กม่ความสุข และได้ทั้งเรื่องภาษา
      ทักษะเหล่านี้เป็นทั้งทักษะพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ ส่งผลกับความพร้อมในการเรียนรู้


กิจกรรมท้ายคาบ

       วันนี้อาจารย์เบียร์ให้จับคู่เหมือนเดิม แจกกระดาษให้คู่ละ 1 แผ่น และสีเทียนคนละ 1 แท่ง จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทั้งสองคนขีดลงบนกระดาษโดยห้ามยกสีเทียน และให้เส้นตัดกันมากที่สุด



จากนั้นก็ให้ช่วยกันระบายสีลงในช่องที่ตัดกัน


และผลงานของเพื่อนๆ


ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
  1. ฝึกสมาธิ
  2. ทักษะสังคม
  3. มิติสัมพันธ์
  4. การแสดงออกทางความคิด
  5. ภาษา


การนำไปประยุกต์ใช้


      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางภาษามากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำตอนท้ายคาบ





วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 9 วันที่ 2 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

      ก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้อาจารย์เบียร์ก็มีเกมรถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น โดยมีคำถามดังนี้


  1. ถ้าเราจะสวนสนุกแล้วจะไปขึ้นรถไฟเหาะแล้วมีคนต่อแถวรอเยอะมาก เราจะรอนานเท่าไหร่ ตอบ ครึ่งชั่วโมง (คำแปล : ถ้าเราจะมีอะไรกับแฟน ใช้เวลาเล้าโลมกี่นาที)
  2. ระหว่างที่อยู่บนรถไปเหาะเรารู้สึกอย่างไร ตอบ หวาดเสียว กลัว ตื่นเต้น อยากลง (คำแปล : ระหว่างที่เรา...กับแฟน เรารู้สึกอย่างไร)
  3. ขณะที่เราเล่นเครื่องเล่นที่ต้องลงน้ำเราจะพูดอะไรออกมา ตอบ กรี๊ดดด (คำแปล : ตอนที่ถึงจุดสุดยอด)
  4. ขณะที่เราขึ้นไปเล่นม้าหมุนแล้วม้าตัวที่เรานั่งไม่โยก เราจะพูดว่าอย่างไร ตอบ อ้าว ! พัง (คำแปล : ถ้าเกิดคู่ของเราทำผิดพลาด)
  5. ให้เราออกแบบรถไฟเหาะ

      เข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม (เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด)
  • สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่มีความสุข เช่น การจัดมุมในห้องเรียนให้สวยงาม น่าเล่น ก็ไม่ได้ทำให้เด็กพิเศษสนใจอยากเล่น (ต้องปรับที่ตัวเด็ก)
กิจกรรมการเล่น
  • ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเห็นเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส จะผลักหรือดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รุ้วิธีเล่น
  • ครูต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่าเป็นระบบ เพื่อจะได้เป็นตัวบอกเราว่าเด็กคนนั้นเป็นยังไงและเอามาใช้ในการเขียนแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (ไม่ควรเกิน 4 คน) โดยอัตราส่วนระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษ คือ 3:1
  • เด็กปกติจะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ห้ามหันหลังให้เด็กเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยุ่ในสายตาครู จะทำอะไรก็ได้
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่มทีละชิ้น เช่น เล่นทราย
         - เล่นมือเปล่า
         - เอาอุปกรณ์ไปเพิ่ม เช่น ถ้าเพิ่มช้อนพลาสติก ให้เพิ่มในจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กเสมอ เช่น ถ้าเด็กมี 4 คน อย่าให้เกิน 2 อัน เพราะจะไม่เกิดทักษะทางสังคม เด็กจะไม่ได้แบ่งกันเล่น
         - ถ้าเด็กเริ่มเบื่อก็ให้เพิ่มอีก 1 ชิ้น
         - ถ้าให้ของเล่นครั้งเดียวหลายๆอันเด็กจะเลือกเล่นแค่บางอย่าง แล้วก็เบื่อเร็ว และจะไม่เล่นกับเพื่อน จะไม่เกิดการแบ่งปัน

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน พาเด็กไปเข้ากลุ่มเล่นกับเด็กปกติ
ครูช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • ให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง
  • ครูต้องสร้างข้อตกลงก่อน

จากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำโดยให้ทุกคนจับคู่กัน จากนั้นให้เลือกสีเทียนคนละ 1 สี


จากนั้นก็ให้ตกลงกับคู่ของเรา คนนึงเป็นคนลากเส้น คนนึงเป็นคนจุด


ขณะที่ลากเส้นและจุด อาจารย์ก็เปิดเพลงไปด้วยซึ่งเป็นเพลงที่มีแต่เสียงดนตรี ไม่มีคนร้อง

เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็วาดรูปที่เราลาก




กิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกสมาธิ เกิดทักษะทางสังคม ได้ปรึกษากัน พูดคุยกัน 


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเนาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางสังคมมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ (ถึงแม้ว่าฝีมือจะเหมือนเด็กอนุบาลทำม้ากมาก แต่หนูก็ตั้งใจทำนะคะ)

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่ว่าเพื่อนมาเรียนไม่เยอะ เนื่องจากในตอนเช้าเรียนวิชาลูกเสือ ทำกิจกรรมเหนื่อยมาก ทำให้เพื่อนบางคนมาไม่ไหว 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีแบบทดสอบทางจิตวิทยามาให้ทำ มีกิจกรรมมาให้ทำ และท้ายคาบยังให้คำปรึกษาเรื่องงานบายเนียร์อีกด้วย






วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 8 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่อจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย