วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 9 วันที่ 2 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

      ก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้อาจารย์เบียร์ก็มีเกมรถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น โดยมีคำถามดังนี้


  1. ถ้าเราจะสวนสนุกแล้วจะไปขึ้นรถไฟเหาะแล้วมีคนต่อแถวรอเยอะมาก เราจะรอนานเท่าไหร่ ตอบ ครึ่งชั่วโมง (คำแปล : ถ้าเราจะมีอะไรกับแฟน ใช้เวลาเล้าโลมกี่นาที)
  2. ระหว่างที่อยู่บนรถไปเหาะเรารู้สึกอย่างไร ตอบ หวาดเสียว กลัว ตื่นเต้น อยากลง (คำแปล : ระหว่างที่เรา...กับแฟน เรารู้สึกอย่างไร)
  3. ขณะที่เราเล่นเครื่องเล่นที่ต้องลงน้ำเราจะพูดอะไรออกมา ตอบ กรี๊ดดด (คำแปล : ตอนที่ถึงจุดสุดยอด)
  4. ขณะที่เราขึ้นไปเล่นม้าหมุนแล้วม้าตัวที่เรานั่งไม่โยก เราจะพูดว่าอย่างไร ตอบ อ้าว ! พัง (คำแปล : ถ้าเกิดคู่ของเราทำผิดพลาด)
  5. ให้เราออกแบบรถไฟเหาะ

      เข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม (เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด)
  • สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่มีความสุข เช่น การจัดมุมในห้องเรียนให้สวยงาม น่าเล่น ก็ไม่ได้ทำให้เด็กพิเศษสนใจอยากเล่น (ต้องปรับที่ตัวเด็ก)
กิจกรรมการเล่น
  • ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเห็นเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส จะผลักหรือดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รุ้วิธีเล่น
  • ครูต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่าเป็นระบบ เพื่อจะได้เป็นตัวบอกเราว่าเด็กคนนั้นเป็นยังไงและเอามาใช้ในการเขียนแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (ไม่ควรเกิน 4 คน) โดยอัตราส่วนระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษ คือ 3:1
  • เด็กปกติจะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ห้ามหันหลังให้เด็กเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยุ่ในสายตาครู จะทำอะไรก็ได้
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่มทีละชิ้น เช่น เล่นทราย
         - เล่นมือเปล่า
         - เอาอุปกรณ์ไปเพิ่ม เช่น ถ้าเพิ่มช้อนพลาสติก ให้เพิ่มในจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กเสมอ เช่น ถ้าเด็กมี 4 คน อย่าให้เกิน 2 อัน เพราะจะไม่เกิดทักษะทางสังคม เด็กจะไม่ได้แบ่งกันเล่น
         - ถ้าเด็กเริ่มเบื่อก็ให้เพิ่มอีก 1 ชิ้น
         - ถ้าให้ของเล่นครั้งเดียวหลายๆอันเด็กจะเลือกเล่นแค่บางอย่าง แล้วก็เบื่อเร็ว และจะไม่เล่นกับเพื่อน จะไม่เกิดการแบ่งปัน

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน พาเด็กไปเข้ากลุ่มเล่นกับเด็กปกติ
ครูช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • ให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง
  • ครูต้องสร้างข้อตกลงก่อน

จากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำโดยให้ทุกคนจับคู่กัน จากนั้นให้เลือกสีเทียนคนละ 1 สี


จากนั้นก็ให้ตกลงกับคู่ของเรา คนนึงเป็นคนลากเส้น คนนึงเป็นคนจุด


ขณะที่ลากเส้นและจุด อาจารย์ก็เปิดเพลงไปด้วยซึ่งเป็นเพลงที่มีแต่เสียงดนตรี ไม่มีคนร้อง

เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็วาดรูปที่เราลาก




กิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกสมาธิ เกิดทักษะทางสังคม ได้ปรึกษากัน พูดคุยกัน 


การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเนาเทคนิค วิธีการต่างๆที่จะช่วยให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางสังคมมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้ไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติในอนาคตได้

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง : วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกับเพื่อนเสียงดังบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ (ถึงแม้ว่าฝีมือจะเหมือนเด็กอนุบาลทำม้ากมาก แต่หนูก็ตั้งใจทำนะคะ)

      เพื่อน : วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่ว่าเพื่อนมาเรียนไม่เยอะ เนื่องจากในตอนเช้าเรียนวิชาลูกเสือ ทำกิจกรรมเหนื่อยมาก ทำให้เพื่อนบางคนมาไม่ไหว 

      อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีแบบทดสอบทางจิตวิทยามาให้ทำ มีกิจกรรมมาให้ทำ และท้ายคาบยังให้คำปรึกษาเรื่องงานบายเนียร์อีกด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น